หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีกำหนด URL ของ Post ใน Google Blogger ตามใจชอบ

ในการเขียน Post ใน Blog ของคนไทยเรา ก็เป็นธรรมดาที่จะเขียน "หัวเรื่อง" (Title) เป็นภาษาไทย และเขียน เนื้อความเป็นภาษาไทย

ปัญหาอยู่ที่ว่า เราใช้ Google Blogger ... ซึ่ง เมื่อสร้าง Post ใน Blog แล้ว ก็จะสร้าง Link ของ Post นั้น อัตโนมัติ ... ซึ่ง จะแปลกๆ อ่านยาก เนื่องจาก Blogger จะพยายามหาภาษาอังกฤษใน Title แล้ว เมื่อหาไม่เจอ ก็จะพยายามหาอะไรสักอย่างมาใส่ให้แทน ซึ่ง ... ไม่สื่อความหมายเอาเสียเลย

เช่น เราจะตั้ง Title ว่า "วิธีการตั้งลิงค์ที่สื่อความหมายให้กับบันทึกในบล็อกเกอร์" ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไม่มีภาษาอังกฤษเลย, เจ้า Blogger ก็จะไม่รู้่หาอะไรมาแทนดี ก็เลยใช้เป็นคำว่า blog-post.html

ซ้ำร้ายไปกว่านั้น Post ต่อๆมาในวันนั้น แล้ว Title ไม่มีภาษาไทยเลย มันก็จะยิ่งงงไปใหญ่ พยายามหาอะไรแปลกๆมาแทนให้ เช่น blog-post_6402.html บ้าง อะไรบ้าง ซึ่งไม่สื่อความหมาย เปลี่ยนก็ไม่ได้

หลังจากหาทางแก้อยู่หลายวันหลายคืน ... ก็พบบทความหนึ่ง ที่ http://techiebeginners.wordpress.com/2011/07/26/how-to-customize-your-blogger-post-url/

มันช่างง่ายดายเสียนี่กระไร วิธีการคือ

  1. เริ่มจาก เขียน Title เป็นภาษาอังกฤษ ให้สื่อความหมายกับเนื้อความใน Post ของเรา
    อย่างบทความนี้ ผมตั้งว่า "customize your blogger post url"
    *** ระวังอย่าให้เกิน 40 ตัวอักษร *** เพราะระบบจะจำกัดไว้แค่นั้น
  2. เขียนเนื้อความ ตามปรกติ แล้วคลิก Publish
  3. จากนั้น ค่อยมาเปลี่ยน หัวเรื่อง เป็นภาษาไทย ตามต้องการ เช่นตัวอย่างนี้ ตั้งชื่อภาษาไทยว่า "วิธีกำหนด URL ของ Post ใน Google Blogger ตามใจชอบ"
  4. แล้วกดปุ่ม Update เป็นอันเรียบร้อย เพราะ Blogger จะไม่เปลี่ยน URL หลังจากเรา Publish ไปแล้วในครั้งแรก
มันเป็นแค่ .... ลำดับก่อนหลัง ซึ่งให้ผลแตกต่างอย่างมากมาย
ลองดูนะครับ ;-)

Application จำเป็น บน Andriod ของฉัน

หลังจาก Factory Reset เพื่อทำการ 5ส เจ้า Galaxy Mini แล้ว ก็ทำการติดตั้งโปรแกรมใหม่
ก็พบว่า โปรแกรมที่จำเป็นๆ นอกเหนือจากที่ของดั้งเดิมให้มา ประกอบไปด้วย

  1. Facebook for Andriod
    อันนี้ เป็นที่เข้าใจกัน ขาด Facebook เหมือนได้อย่างไร
  2. Google+
    เอาไว้ใช้อ่านสาระต่างๆ กับการ upload รูปภาพที่ถ่ายมา ้ด้วย Instant Upload แล้วค่อยมาคัดอีกครั้งว่ารูปใดควร share ในกลุ่มใดบ้าง
  3. Google Drive
    งานเอกสารต่างๆ อยู่บนนี้หมดแล้ว
  4. K-9 Mail
    ไว้อ่าน IMAP Mail ขององค์กร
  5. My Data Manager
    ต้องติดตั้งไว้ เพื่อบริหารว่า ถ้าต่อ 3G เราใช้งาน Internet ไปด้วย Application ใด มากน้อยขนาดไหน และเอาไว้บริหารว่า เหลือเวลาอีกกี่วัน และใช้งานข้อมูลได้อีกเท่าไหร่ มีประโยชน์ยิ่งยวด
  6. Speed Test
    เอาไว้ตรวจสอบว่า Internet ช้าเพราะอะไร และเราต่อได้ความเร็วเท่าไหร่
  7. AndFTP
    ใช้โอนข้อมูลกับ Computer ใน WLAN ที่เปิด FTP เอาไว้ (พอดีใช้ Notebook เป็น Ubuntu ก็เลยง่าย ไม่ต้องลุ้นว่าจะเสียบสาย USB แล้วจะติด เครื่องคอมพิวเตอร์จะเห็นหรือไม่อีกด้วย)
  8. MX Player
    ใช้เล่นไฟล์ Multimedia โดยเฉพาะ MP4